วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี                                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  งานบ้าน                                                         เวลา  1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง : การทำความสะอาดห้องเรียน
                                                                                                                            

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
                        ง 1.1    เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน  และทักษะการแสวงหาความรู้มีคุณธรรม  และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

ตัวชี้วัด
       ง  1.1   ป.3/1  อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง  ครอบครัวและ ส่วนรวม
       ง  1.1   ป.3/2  ใช้วัสดุ  อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน
       ง  1.1   ป.3/3  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงานด้วยความสะอาด
                            ความรอบคอบ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
            1. อธิบายวิธีการและประโยชน์ของการทำความสะอาดห้องเรียน  (K)
            2. การทำความสะอาดห้องเรียนตามกระบวนการทำงาน  (P)
            3. ทำงานด้วยความสะอาด  รอบคอบ  (A)

สาระสำคัญ
การทำงานเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม  เช่น  การทำความสะอาดห้องเรียน ต้องใช้วัสดุ  อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงานด้วยความสะอาด  ความรอบคอบ  เพื่อให้ห้องเรียนสะอาด  เป็นระเบียบเรียบร้อย

สาระการเรียนรู้
      1.      ความรู้
      การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง  : การทำความสะอาดห้องเรียน
            2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
            3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                มุ่งมั่นในการทำงาน


กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่  1  การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้  (Active Learning)
            1. ให้นักเรียนสังเกตภาพเด็กหลายคนช่วยกันเก็บขยะในบริเวณโรงเรียนหรือสวนสาธารณะ (ภาพที่ 1) และภาพเด็กเก็บอุปกรณ์การเรียนลงในกระเป๋านักเรียน (ภาพที่  2)  แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
เด็กในภาพที่  1  กำลังทำอะไร  (ตัวอย่างคำตอบ  เก็บขยะในบริเวณโรงเรียน)
เด็กในภาพที่  2  กำลังทำอะไร  (ตัวอย่างคำตอบ  เก็บอุปกรณ์การเรียนลงในกระเป๋านักเรียน)
การทำงานของเด็กในภาพใดเป็นการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง 
(ตัวอย่างคำตอบ เด็กในภาพที่  2)
การทำงานของเด็กในภาพใดเป็นการทำงานเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม
(ตัวอย่างคำตอบ เด็กในภาพที่  1)
            2. ครูอธิบายความหมายของการทำงานเพื่อช่วยเหลือส่วนรวมให้นักเรียนฟังพร้อมยกตัวอย่างประกอบ  จากนั้นครูสุ่มเลือกนักเรียน  5  คนลุกขึ้นยืนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานเพื่อส่วนรวมที่ตนเองเคยทำคนละ  1  ตัวอย่าง โดยครูใช้คำถามนำเหมือนกันทั้ง  5  คน  ดังนี้
               การทำงานเพื่อส่วนรวมที่นักเรียนเคยทำคืออะไร  (ตัวอย่างคำตอบ  เก็บขยะในบริเวณโรงเรียน)
               การทำงานเพื่อส่วนรวมดังกล่าวมีประโยชน์อย่างไร  (ตัวอย่างคำตอบ  ทำให้โรงเรียนสะอาด)
               การทำงานเพื่อส่วนรวมแสดงถึงการมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างไร  
(ตัวอย่างคำตอบ  มีจิตสาธารณะ)
จากนั้นครูอธิบายให้นักเรียนฟังเพิ่มเติมว่า  การทำงานเพื่อช่วยเหลือส่วนรวมมี
ประโยชน์ในการฝึกนิสัยที่ดีในการรู้จักเสียสละเพื่อผู้อื่น  สังคมน่าอยู่เพราะผู้คนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  สิ่งแวดล้อมดีเพราะทุกคนช่วยกันดูแลรักษา
3. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า  การทำความสะอาดห้องเรียนก็เป็นการทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างหนึ่งซึ่งนักเรียนทุกคนควรช่วยกันทำเพื่อให้ห้องเรียนสะอาด  เป็นระเบียบเรียบร้อย  จากนั้นครูติดแผนภาพกระบวนการทำความสะอาดห้องเรียนและแผนภาพวิธีทำความสะอาดห้องเรียนไว้บนกระดานพร้อมอธิบายรายละเอียดให้นักเรียนฟัง 
แล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยครูใช้คำถาม ดังนี้
  เพราะเหตุใดจึงต้องยกเก้าอี้พาดไว้บนโต๊ะก่อนกวาดพื้น  (ตัวอย่างคำตอบ  เพราะจะได้กวาดสะดวก)
บริเวณใดในห้องเรียนควรทำความสะอาดเป็นอันดับแรก  (ตัวอย่างคำตอบ  บนเพดานและผนังห้อง)
อุปกรณ์ใดใช้ปัดฝุ่นบนหลังตู้  โต๊ะ  เก้าอี้  (ตัวอย่างคำตอบ  ไม้ขนไก่)
อุปกรณ์ใดใช้กวาดฝุ่นบนพื้น (ตัวอย่างคำตอบ  ไม้กวาดดอกหญ้า)
อุปกรณ์ใดใช้ถูพื้น (ตัวอย่างคำตอบ  ไม้ถูพื้น)
การทำความสะอาดหน้าต่างมีวิธีการอย่างไร  (ตัวอย่างคำตอบ  ใช้ผ้าขี้ริ้วชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ด)
การทำความสะอาดแปรงลบกระดานมีวิธีการอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ  เคาะฝุ่นชอล์กลงในถังขยะ)
            4. ครูสาธิตวิธีการทำความสะอาดห้องเรียนที่ถูกต้องให้นักเรียนดู  จากนั้นแบ่งนักเรียนเป็น  5  กลุ่ม  ให้แต่ละกลุ่มทำความสะอาดห้องเรียนในบริเวณที่กำหนดให้ดังนี้
กลุ่มที่  1  ทำความสะอาดเพดานและผนังห้อง
กลุ่มที่  2  ทำความสะอาดประตูและหน้าต่าง
กลุ่มที่  3  ทำความสะอาดกระดานดำและแปรงลบกระดาน
กลุ่มที่  4  ทำความสะอาดพื้นห้อง
กลุ่มที่  5  ทำความสะอาดโต๊ะและเก้าอี้

5. ให้นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าการทำความสะอาดของนักเรียนกลุ่มใดพบปัญหา  และแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร  ผลงานการทำความสะอาดของนักเรียนแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร  ถ้ายังไม่สะอาด  ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
              6. ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้ 
            การทำความสะอาดห้องเรียนโดยใช้วัสดุ  อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงานด้วยความสะอาด  ความรอบคอบ  ห้องเรียนจะสะอาด  เป็นระเบียบเรียบร้อย
                        7. ให้นักเรียนทำชิ้นงานที่  3 เรื่อง การทำงานเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม

ขั้นที่  2  การมีส่วนร่วม  (Cooperative)
-          ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยครูใช้คำถามท้าทาย  ดังนี้
ห้องเรียนในฝันของนักเรียนเป็นอย่างไร


ขั้นที่  3  การวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้  (Analysis)
             -ให้นักเรียนวิเคราะห์และอธิบายวิธีการและประโยชน์ของการทำความสะอาดห้องเรียน 

ขั้นที่  4  การสรุปและสร้างองค์ความรู้  (Constructivism)
-          ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้ การทำความสะอาดห้องเรียนโดยใช้วัสดุ  อุปกรณ์
และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงานด้วยความสะอาด  ความรอบคอบ  ห้องเรียนจะสะอาด  เป็นระเบียบเรียบร้อย

ขั้นที่  5  การนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้  (Application)
-   ครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบว่านักเรียนจะนำความรู้เรื่องวิธีการและประโยชน์ของการทำความ
สะอาดห้องเรียน  ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

สื่อการเรียนรู้
                  1. ภาพเด็กหลายคนช่วยกันเก็บขยะในบริเวณโรงเรียนหรือสวนสาธารณะ และภาพเด็กเก็บอุปกรณ์การเรียนลงในกระเป๋านักเรียน
2. ภาพขั้นตอนการทำความสะอาดห้องเรียน
3. แผนภาพกระบวนการทำความสะอาดห้องเรียน
4. วัสดุ อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องเรียน  ได้แก่  ไม้กวาดขนไก่  ไม้กวาดทางมะพร้าว  ไม้กวาดหยากไย่  ที่ตักผง  ถังขยะ  ไม้ถูพื้น  ผ้าขี้ริ้ว  และถังน้ำ 
5. ชิ้นงานที่  3 เรื่อง การทำงานเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีการวัดและประเมินผล
                1.1 สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน
                1.2 สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                 1.3 ตรวจชิ้นงานที่ 3
             2. เครื่องมือ
                 2.1 แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม 
                 2.2 แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
             3. เกณฑ์การประเมิน
                 3.1 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
                        ผ่านตั้งแต่   2 รายการ ถือว่า ผ่าน
                        ผ่าน         1   รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน           
                3.2 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                                    คะแนน  9-10  ระดับ   ดีมาก
                                    คะแนน  7-8    ระดับ   ดี
                                    คะแนน  5-6   ระดับ   พอใช้
                                    คะแนน  0-4   ระดับ   ควรปรับปรุง



ใบงานที่  3  เรื่อง  การทำงานเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม


                                                       แบบบันทึก
 
คำชี้แจง   ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มช่วยกันทำความสะอาดบริเวณต่าง ๆ  ของห้องเรียนแล้วบันทึกผลลงในแบบบันทึก



1. ก่อนทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นอย่างไร       
______________________________________________________________
______________________________________________________________
______________________________________________________________

2. หลังทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นอย่างไร
______________________________________________________________
______________________________________________________________
______________________________________________________________

3. กลุ่มของนักเรียนใช้วัสดุ อุปกรณ์ใดบ้างในการทำความสะอาด (ตอบได้มากกว่า  1  ข้อ)
   ____ ไม้กวาดหยากไย่                                ____ถังน้ำ
  ____ ไม้ปัดขนไก่                                        ____ที่ตักผง
  ____ ไม้กวาดดอกหญ้า                              ____ถังขยะ
   ___ผ้าขี้ริ้ว                                               ____ แปรงลบกระดาน

4. กลุ่มของนักเรียนทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวอย่างไร
______________________________________________________________
______________________________________________________________
______________________________________________________________


5. ผลงานการทำความสะอาดของกลุ่มนักเรียนอยู่ในระดับใด
____ดี                           ____พอใช้           ____ควรปรับปรุง

6. การทำความสะอาดบริเวณต่าง ๆ  ของห้องเรียนมีประโยชน์อย่างไร ______________________________________________________________
______________________________________________________________

  ______________________________________________________________